สมองส่วนไฮโปทาลามัสมีความมหัศจรรย์อย่างมากที่มีความสามารถในการจดจำเรื่องรา
วต่างๆ อย่างมหาศาล แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่ามันจะสามารถจดจำเรื่องต่างๆ
ในชีวิตของเราได้ทั้งหมด
เพราะสมองจะมีระบบการลบทิ้งสำหรับเรื่องราวที่ดูจะไม่มีประโยชน์กับชีวิต
การฝึกกระตุ้นการจดจำจากเรื่องง่ายๆ ในชีวิต ประจำวันจะช่วยให้สมองส่วนนี้ได้พัฒนา
วิธีไหนบ้างที่จะช่วยให้เราไม่เข้าสู่ภาวะสมองเสื่อมเร็วกว่ากำหนด มาลองดูกันเลย
1. จำของในตู้เย็น
หลายอย่างที่เราซื้อมาถูกเก็บไว้ในตู้เย็นและแล้วมันก็ถูกลืม
ความจำต่อสิ่งนั้นจะกลับมาก็ตอนที่กลิ่นของมันเริ่มโชยเตะจมูก
เป็นสัญญาณบอกว่าฉันหมดอายุแล้ว เอาฉันไปทิ้งที
เหตุการณ์เหล่านี้เหมือนกับเรื่องราวเล็กๆ น้อยๆ ที่เกิดขึ้นกับตัวเรา
เหตุการณ์ที่เราไม่ได้ใส่ใจมากนัก หรือไม่ได้ฝึกบอกสมองว่าให้จดจำ
สมองจึงพิจารณาว่าสิ่งเหล่านี้ไม่มีความสำคัญไม่ต้องจดจำก็ได้
และในที่สุดเราก็จะลืมมันไป การฝึกให้สมองจดจำก่อนที่เราจะใส่ของต่างๆ
เข้าไปในตู้เย็นจะทำให้สมองนำข้อมูลเหล่านั้นไปสู่ส่วนเหตุผลเพื่อบันทึก
ซึ่งหากทำอย่างตั้งใจ
เมื่อถึงเวลาที่สมควรสมองจะดึงข้อมูลเหล่านั้นกลับมาเตือนเราอีกครั้ง
การฝึกจดจำสิ่งของต่างๆ
ที่อยู่ในตู้เย็นจึงเหมือนเป็นการกระตุ้นให้สมองทำงานอย่างครบวงจรนั่นเอง
ไม่เพียงแค่การบันทึก แต่ยังหมายถึงการเรียกคืนกลับมาด้วย
2. จัดโต๊ะทำงาน
โต๊ะทำงานของบางคนมีข้าวของต่างๆ เต็มไปหมด จนไม่รู้ว่าของชิ้นไหนอยู่ตรงไหน
การจัดโต๊ะทำงานอยู่เสมอจะช่วยทำให้เราระลึกถึงได้ว่าของชิ้นไหนที่สำคัญและจำเป็น
สำหรับการทำงาน และมันควรถูกจัดวางไว้บริเวณใด
การจัดระบบแบบนี้เหมือนการจัดระบบของสมองไปด้วย ข้อมูลต่างๆ
ที่อยู่ในสมองเรามีมากมาย
การฝึกให้สมองได้รู้จัดจัดระบบระเบียบและคัดสรรสิ่งที่จำเป็นจะทำให้เมื่อเราต้องการใช้
งานข้อมูลต่างๆ สมองจะสามารถรื้อค้นและนำออกมาใช้ง่ายได้ง่ายและรวดเร็ว
การจัดโต๊ะทำงานและสมองจึงเหมือนเป็นการฝึกการเลือกทิ้งและเลือกเก็บ
ให้เราแยกแยะระหว่างขยะและความทรงจำของเรานั่นเอง
3. เขียนบันทึก
การเขียนบันทึก เป็นการช่วยทำให้สมองส่วนฮิปโปทาลามัสได้ทำงานอยู่เป็นกิจวัตร
อีกทั้งยังช่วยคัดกรองเหตุการณ์ต่างๆ ที่สำคัญซึ่งผ่านเข้ามาในชีวิตเราแต่ละวัน
โดยปกติเรารับรู้เรื่องราวเหล่านั้นผ่านประสาทสัมผัสแต่การจะคัดกรองว่าเรื่องราวใดที่ค
วรค่าแก่การจดจำ สมองต้องการกระบวนการตอกย้ำ ซึ่งการจดบันทึก
คือกระบวนการดังกล่าว
อย่างน้อยเพียงแค่เรานึกทบทวนก็จะช่วยทำให้ช่วยให้สมองทำงานได้ง่ายขึ้น
แถมด้วยการจดลงไปในสมุดโน๊ตหรือคอมพิวเตอร์ก็จะยิ่งช่วยให้เหตุการณ์นั้นอยู่กับเรา
ไปอีกชั่วระยะเวลาหนึ่งเลยทีเดียว
4. ฟังเพลงเก่าที่ชื่นชอบ
ดนตรีหรือท่วงทำนองเก่าๆ
ที่เราเคยชอบมักจะถูกบันทึกเก็บไว้ในลิ้นชักของสมองชั้นล่างสุด
แต่คุณรู้หรือไม่ว่าความพิเศษของบทเพลงเหล่านี้จะถูกเก็บไว้พร้อมกับเรื่องราวต่างๆ
เสมอ เพลงนี้เราฟังตอนที่อกหักครั้งแรก เพลงนั้นเราฟังกับเพื่อนๆ สมัยมัธยม
เพลงโน้นแฟนตอนมหาลัยส่งให้ฟังวันวาเลนไทน์
ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่าความทรงจำต่างๆ
จะถูกบันทึกไปพร้อมกับเหตุการณ์ซึ่งมีความรู้สึกประกอบอยู่ด้วยเสมอ
ดังนั้นการรื้อฟื้นฟังเพลงเก่าๆ
เหล่านี้จึงเปรียบเสมือนการสั่งให้สมองได้รื้อค้นย้อนกลับไปยังเหตุการณ์ต่างๆ
ที่ผ่านเข้ามาในชีวิต หากคุณยังสามารถจำรายละเอียดของเหตุการณ์นั้นได้มากเท่าไร
นั่นก็ยิ่งแสดงว่าสมองสามารถเก็บและเรียกความจำเหล่านั้นกลับมาได้อย่างมีประสิทธิภา
พตามไปด้วย
5. ร้องเพลงแบบไม่ดูเนื้อ
เวลาที่เราไปร้องคาราโอเกะ หรือมีโอกาสได้ร้องเพลงต่อหน้าคนอื่น
หลายคนแก้เขินด้วยการมองจอทีวี ไอแพด
หรือมัวแต่จ้องมองเนื้อเพลงในโทรศัพท์มือถือ
การทำเช่นนี้คุณทราบหรือไม่ว่าเป็นการร้องเพลงแบบใช้สมองซีกเดียว
ทั้งนี้เนื่องจากในขณะที่เรามองเนื้อนั้น สมองทำงานเพียงแค่ในส่วนการอ่านเท่านั้น
ดังนั้นหากต้องการให้สมองได้ใช้งานอย่างเต็มประสิทธิภาพ
คุณควรฝึกจำเนื้อเพลงเหล่านั้น และร้องมันออกไปโดยใช้การนึกตามไปด้วย
เพราะการร้องได้นั้นหมายถึงคุณกำลังใช้สมองซีกซ้าย
และใช้สมองซีกขวาประเมินผลความถูกต้อง และทั้งสองซีกกำลังทำงานสอดประสานกัน
ฝึกแบบนี้บ่อยๆ นอกจากเนื้อเพลงแล้วสมองจะจดจำเรื่องอื่นๆ ได้ดียิ่งขึ้น
ที่มาข้อมูล:
บทความ: Pill to caim traumatic memories วันที่ 18 มีนาคม ปี 2004 จากสำนักข่าว
Gazette ของ มหาวิทยาลัยโฮวาร์ด (www.hno.harvard.edu/gazette)
Commenti